ย้อนรอยคดีใบสั่งตายจากคนรัก ตำนานรัก…นวลฉวี ตอนจบ

นวลฉวีตอนจบ

เช้าวันที่ 12 กันยายน ปี พ.ศ. 2502 

เวลา 8.45น. นายจำลอง จิรัตฐิตกุล ช่างกลแถวปากเกร็ด กำลังนั่งเรือออกจากบ้าน เพื่อไปทำงานที่คลองอ้อม ระหว่างที่นั่งเรือนั้นเขาได้พบกับ ศพ !!!

ศพนี้ลอยแม่น้ำมาอย่างเวทนา ในแม่น้ำเจ้าพระยาห่างจากตัวนนทบุรีประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ระหว่างโรงงานกระดาษเก่ากับวัดเฉลิมพระเกียรติ นายท้ายเรือเข้าไปดูศพสวมเสื้อสีฟ้าอ่อน นุ่งกระโปรงดำเป็นลายปัก ศพอยู่ในลักษณะหงายมือพาดหน้าอก คาดเข็มขัดโตสีฟ้า ที่ข้อมือและแหวนทองลงยาจารึกนามสกุล “รามเดชะ” (นามสกุลเดิมของหมออธิป)

เมื่อเรือแล่นมาถึงจังหวัดนนทบุรี นายจำลอง รีบแจ้งความต่อตำรวจนนทบุรีในทันที ศพถูกส่งไปวัดนครอินทร์ ก่อนส่งต่อด้วยโรงพยาบาลตำรวจนนทบุรี เพื่อชันสูตรศพ เป็นการด่วน

ผลจากการชันสูตร สาเหตุการตายเนื่องจากบาดแผลถูกแทงจนเลือดตกในมากและสิ้นใจก่อนถูกโยนลงน้ำ บาดแผลที่ถูกแทงนั้นมีสีข้าง-ข้างขวาและที่หลังด้านซ้ายรวม 3 แผล แต่เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายของศพไม่พบรอยฉีกขาด

“ท่ามกลางความมืดของคืนวันหนึ่งในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2502 ชายฉกรรจ์กลุ่มหนึ่งได้ลงมือสังหาร นวลฉวี นางพยาบาลสาวถึงแก่ชีวิตตามที่ได้รับว่าจ้าง”

วันที่ 13 กันยายน ปี พ.ศ. 2502 เวลา 22.00 น. ศพที่พบในลำน้ำเจ้าพระยาถูกประกาศอย่างเป็นทางการว่าเป็นผู้ตายชื่อนวลฉวี (สืบจากชื่อที่สลักของแหวน) หมออธิปทราบข่าวการตายของนวลฉวี และเผชิญหน้ากับกองทัพนักข่าว หมอตอบสั้นๆ ว่า 

“เธอเป็นภรรยาผมก็จริง แต่เราไม่ได้อยู่ร่วมกันครับ แยกกันอยู่ พรุ่งนี้ค่อยไปรับศพครับ เพราะมันดึกแล้ว”

คดีนี้เดาผู้ต้องสงสัยไม่ยาก เพราะนวลฉวีไม่มีศัตรูภายนอกที่ไหน ยกเว้นคนภายใน และดูไม่ยาก เห็นทีจะไม่เกินสามีที่อยากกำจัดภรรยาจอมยุ่งให้ไปพ้น ๆ ทางอยู่แล้ว

วันที่ 14 กันยายน ปี พ.ศ. 2502

ตำรวจเชิญตัวหมออธิปไปสอบสวน และพบรอยข่วนที่ข้อมือหมอ ตำรวจไม่รอช้าถ่ายรูปบาดแผลนี้ เก็บเป็นหลักฐานพร้อมกับแจ้งข้อหา “ฆ่าคนตาย” ในทันที

ในกลางดึกของกลางเดือนกันยายน ภายหลังจากหมออธิปถูกจับกุม ขบวนรถตำรวจรับหมอและคุ้มกันอย่างแน่นหนา เพื่อพาหมออธิปไปสถานที่แห่งหนึ่ง

“จอมพลสฤษดิ์อยากพบหมอครับ มีอะไรก็รับ ๆ เสียนะครับ ถ้าไม่รับหมอโดนยิงเป้าแน่ คิดดูให้ดีนะครับหมอ”

หมออธิปหน้าซีด เพราะจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในขณะนั้นเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ และเป็นนายกรัฐมนตรี พ่วงด้วยอธิบดีกรมตำรวจ มีนิสัยชอบสั่งยิงคนเป็นว่าเล่นเหมือนผักเหมือนปลา  ตอนดำรงค์ตำแหน่งนายกก็สั่งยิงเป้า ถึง 6 คน

ภายในห้องทำงานบุรุษร่างใหญ่ผิวคล้ำ ท่าทางเด็ดขาด น่าเกรงขาม นั่งรออยู่ก่อนแล้ว หมออธิป เย็นวาบถึงไขสันหลัง สักครู่ท่านหัวหน้าคณะปฏิวัติไม่พูดพร่ำทำเพลง และถามเขาด้วยเสียงเด็ดขาด ว่า …

“หมอฆ่าเมียตัวเองอย่างที่เป็นข่าวจริงไหม ถ้าจริงจงรับมาเสียอย่าปากแข็ง พูดตรง ๆ แบบลูกผู้ชายดีกว่า จะได้ไม่เสียเวลา”

“ผมไม่ได้ทำครับ ผมขอปฏิเสธ” หมออธิปรวบรวมกำลังใจตอบกลับไป

“มันเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานจริงๆ มันเหมือนกับตัวเองไปหาพยายมเพื่อตัดสินความผิดอย่างงั้นแหละ” หมออธิปย้อนความหลัง

ทางด้านตำรวจยศสูงต่าง ๆ ในสถานีตำรวจนนทบุรีได้ร่วมทำการสืบสวนสอบสวนในคดีนี้  และทราบว่าหมออธิปมีเพื่อนสนิทคือ นายชูยศและนางสุขสม พ่อของเขาเคยเป็นคนไข้ของหมออธิปมาก่อน และรักษาพ่อจนหาย ทำให้ชูยศ ซึ้งในน้ำใจของหมออธิป ถึงขนาดยอมตายแทนหมอได้เลยแหละ

วันที่ 17 กันยายน ปี พ.ศ. 2502 หนังสือพิมพ์แต่ละสำนักต่างลงข่าวว่า นายชูยศ มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีฆ่านวลฉวี

ผลจากการชันสูตรศพนวลฉวี มีข้อเพิ่มเติม คือ ตอนที่เธอถูกแทงนั้น เธอไม่ได้สวมผ้านอกและจากการตรวจสอบบนสะพานพบรอยหยดเลือดเล็กบ้างใหญ่บ้าง แสดงถึงการเอาศพมาไว้ ณ จุดนั้น

หลักฐานการสืบสวนคดีฆ่านวลฉวี เพิ่มขึ้นอย่างไม่ขาดสาย ตำรวจพบกระดุมสีน้ำตาลแก่ตกอยู่ 1 เม็ดบนพื้นถนนริมทางหลวง รอยเลือดจากราวสะพานเหล็กที่เป็นคราบสีน้ำตาล ฯลฯ

วันที่ 20 กันยายน ปี พ.ศ. 2502 ตำรวจบุกไปที่บ้านของ นายชูยศ ในสวนบางบำหรุ ธนบุรี แต่ไม่มีคนอยู่ ประตูใส่กุญแจไว้ จากการตรวจสอบบ้านได้พบรอยเลือดที่พื้นบันไดหลังบ้าน ตำรวจจึงเก็บหลักฐานเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังพบเลือดที่พื้นห้องครัว บนเตียงและที่พื้นบันได ทั้งพบหลอดยาเอทิลคลอไรด์ พร้อมมีดปลายแหลมในห้องครัวด้วย

วันที่ 27 กันยายน ปี พ.ศ. 2502 นายชูยศพร้อมภรรยา เข้ามอบตัวกับตำรวจ มีการสอบสวนเพียงเล็กน้อย ก่อนปล่อยตัวกลับไป โดยไม่มีการตั้งข้อกล่าวหา

วันที่ 14 ตุลาคม ปี พ.ศ. 2502 เจ้าหน้าที่คุมนายชูเกียรและภรรยาไปหาจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เพราะคดีฆ่านวลฉวี ดังมากในยุคนั้น และตัวจอมพลก็สนใจในคดีนี้ แต่กระนั้นนายชูยศไม่ได้เข้าพบจอมพล มีเพียงแต่ภรรยาชูยศเท่านั้นที่เข้าพบท่าน

นายกรัฐมนตรีถามนางสุขสมภรรยาของนายชูยศ “มีความสัมพันธ์กับหมออธิปอย่างไร”

นางสุขสมคิดว่านายกถามเรื่องเงินทองๆ เลยตอบว่า “มี” และแล้วรุ่งเช้าหนังสือพิมพ์ก็พาดหัวข่าว “นางสุขสมยอมรับจอมพลว่าเสียตัวให้หมออธิป!!”

วันที่ 28 ตุลาคม ปี พ.ศ. 2502 

นายมงคล เรื่อเรืองรัตน์ สัปเหร่อและช่างไม้ที่บ้านติดกับ นายชูยศ ถูกตำรวจควบคุมตัวได้ที่วัดน้อยนางหงส์ ฐานสงสัยว่าเป็นมือฆ่านวลฉวี

วันที่ 30 ตุลาคม ปี พ.ศ. 2502 

คำให้การพยานมากหน้าหลายตา ทั้งเพื่อนของนวลฉวี รปภ.โรงพยาบาลยาสูบ ให้การเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ จากคำให้การของหลาย ๆ คนตำรวจเชื่อว่าหมออธิปต้องเป็นคนฆ่านวลฉวีแน่นอน และไม่นาน หลังจากนั้นตำรวจก็สามารถจับผู้ต้องสงสัยฆ่านวลฉวีได้ยกแก๊งประกอบด้วย

นายชูยศและนางสุขสม   ตัวกลางประสานแผนการ

นายมงคล  เรื่อเรืองรัตน์  สัปเหล่อมือสังหาร เคยมีประวัติหนีคดีที่อื่นมาก่อน มีอาชีพเป็นสัปเหร่อและช่างไม้อาศัยอยู่บ้านแม่ยายติดกับบ้านนายชูยศ

นายชูเกียรติ ผู้ช่วยฆ่า นอกจากนี้มีผู้ต้องสงสัยอีกคือ นายยง ยิ้มกมล และนายเยี่ยม แต่ตำรวจกันไว้เป็นพยาน ซึ่งพวกเขาทั้งหมดให้การรับสารภาพในเวลาต่อมา

น่าแปลกที่ผู้ต้องสงสัยทั้งหมดก่อนถูกจับไม่มีท่าทีคิดจะหนีสักนิด ส่วนผู้ว่าจ้างหมออธิปก็ไม่ได้มีส่วนร่วมในการวางแผน แค่ว่าจ้างเพียงเท่านั้น

แต่กระนั้นช่วงเวลาการสังหารโหดนวลฉวี ตำรวจไม่เห็นภาพมากนัก ฆาตกรไม่ได้มีคนเดียว มันทำเป็นหมู่คณะ ภายใต้การนำของหมออธิป ตำรวจเชื่ออย่างนั้น แต่ก็ไม่เห็นภาพวินาทีสังหารชัดเจนมากนัก แต่จากประมวลคำของพยานและหลักฐานวัตถุ การสังหารนวลฉวีมีการวางแผนเป็นขั้นๆ เป็นตอนๆ เรียบเรียงได้ดังนี้

เริ่มจากหมออธิปคิดจะฆ่านวลฉวีภรรยาของตนเอง หมออธิปคิดว่าจะทำไงดี พอดีคิดได้ว่าตนมีเพื่อนสนิทอยู่คนหนึ่ง แม้มันจะเลวสักหน่อยแต่ใช้ได้ หมออธิปเลยบึ่งรถไปที่บ้านของนายชูยศเพื่อนสนิทเพื่อต่อรองราคา

“อั๊วจะฆ่าเมียอั๊วว่ะ เงินค่าจ้างมีเยอะ รวยซะอย่าง” นายชูยศตกลงทันที เงินจำนวนมากสมน้ำสมเนื้อกับความเสี่ยง เขาชั่งใจดูแล้ว ว่ามันคุ้ม

ปีศาจในตัวหมออธิปเริ่มแสดงบทบาทแล้ว!!

เดือน สิงหาคม เวลา 11.00 น. นายชูยศและนางสุขสม ไปที่สวนบ้าน นายยง ยิ้มกมล ถามว่าแถวนี้มีใครมือดีบ้างที่สามารถฆ่าผู้หญิงโดยไม่มีหลักฐานได้ นายยงบอกว่ามีสัปเหล่อคนหนึ่งเห็นแกบอกว่าอดีตเคยฆ่าคนตายมาก่อน

ว่าแล้ว นายชูยศสนใจ จึงให้ภรรยาทำการว่าจ้าง นายยง ยิ้มกมล โดยจ้างนายยง เป็นเงินจำนวน 10,000 บาท ให้พานายคนนั้นมาหา โดยได้รับเงินค่าจ้าง 5,000 บาท ครึ่งหนึ่งไปก่อน

วันรุ่งขึ้น นายยง พาตัว นายมงคลมาหานายชูยศ นายชูยศบอกว่าจะจ้างวานให้ฆ่าผู้หญิงคนหนึ่ง โดยต้องไม่ทิ้งหลักฐานและร่องรอยไว้ และจะได้เงินว่าจ้างหมื่นกว่าบาท โดยให้เงินล่วงหน้าห้าพันบาท มัดจำไว้ก่อน

นายมงคล รีบตอบตกลงทันที โดยไม่มีความลังเลแม้แต่น้อย

ทั้งหมด ไปพบหมออธิปผู้ว่าจ้างตัวจริง นายชูยศ แนะนำหมออธิป ให้ผู้รับจ้างทราบโดยทั่วกัน จากนั้นหมออธิปก็ให้เงินนายยง ล่วงหน้า จำนวน 5000 บาท เป็นเงินมัดจำฆ่าคน

จากนั้นหมออธิปก็วางแผนตกลงกันว่าจะพานวลฉวีภรรยาของหมอมาสังหารที่โรงครัวของบ้านหลังนี้ ส่วนเครื่องไม้เครื่องมือหมออธิปจะเตรียมไว้ให้ ขอให้มาตามเวลาที่กำหนด

วันที่ 10 กันยายน ปี พ.ศ. 2502 ถึงเวลาลงมือสังหารนวลฉวี ตอนเช้าหมออธิป โทรศัพท์นัดนางนวลฉวีและรับนางนวลฉวีออกจากโรงพยาบาลยาสูบ โดยพาไปที่บ้านสร้างใหม่ของนายชูยศ ที่สวนบางบำหรุ

เวลาบ่ายโมงเศษ นายยง ไปที่บ้านนายชูยศ สมทบกับนายชูเกียรติ เพื่อดูสถานที่ทำการสังหาร เตรียมมีดปลายแหลม ผ้าพลาสติก และสายไฟคู่สีเหลือง 1 ขด และไม้ไผ่เพื่อหามศพ เตรียมเสร็จแล้วนายยงก็กลับบ้านนอนเอาแรงเพื่อเตรียมลงมือในช่วงเย็นนี้

เมื่อถึงเวลา 17.00 น. (โดยประมาณ) นายยง นายชูเกียรติ และ นายชูยศ พากันซุ่มมองที่ห้องน้ำเพื่อรอดูหมออธิปพาเป้าหมายที่พวกเขาต้องการสังหาร

เวลา 18.00 น. เศษ หมออธิปนำนวลฉวีมาทางหน้าบ้านของนายชูยศ แล้วพาเข้าห้องครัว ปิดประตูลงกลอน หมออธิปรอจังหวะที่นวลฉวีเผลอโปะยาสลบจนเธอค่อย ๆ หลับไป

เมื่อหมออธิปตรวจเช็คว่า ยาสลบของฤทธิ์แล้ว จึงชะโงกหน้าต่างเรียกลูกสมุนที่แอบซุ่มอยู่ออกมา ก่อนออกจากห้องไป พร้อมปล่อยลูกสมุนมาจัดการกับนวลฉวี

นายยง ข่มขื่นนวลฉวี 1 ครั้ง นวลฉวีไม่รู้สึกตัวเพราะโดนยาสลบอยู่

นายมงคลจับแขนซ้ายของนวลฉวีพร้อมพลิกตะแคงร่างเธอไปทางขวา จากนั้นนายมงคล ได้หยิบมีดปลายแหลมทำการแทงนวลฉวีไป 3 ครั้ง นวลฉวีร้อง อึก ๆ ๆ นายมงคลแทงจนรู้ว่าเธอไม่น่ารอดแล้ว จึงบอกนายเยี่ยมน้องชายให้มาช่วยกันหามศพนวลฉวี

“เมื่อข้าข่มขื่นเธอเสร็จแล้ว ข้าย้ายผู้หญิงลงและคว่ำตะแคงตัวด้านขวาของผู้หญิงคนนั้น จากนั้นข้าก็เอามีดสีขาวปลายแหลมที่พื้นกระดานปลายเตียงแล้วแทงผู้หญิงคนนั้นทางด้านหลังไป 3 ที ไม่รู้ที่จุดตรงไหน ผู้หญิงคนนั้นร้อง ฮึก ๆ ๆ สองสามครั้ง จากนั้นข้าก็ตามนายเยี่ยมมาช่วยหามศพ” นายมงคลบอกต่อศาล

จากนั้น ทั้งสองคนช่วยกันเอาเสื้อชั้นนอกที่หัวเตียงมาสวมให้กับศพ แล้วยกศพวางบนผ้าพลาสติกที่ซึ่งปูรอไว้แล้ว นายมงคลเอาสายไฟมัดที่ข้อเท้าศพ มัดบั้นเอว และมัดที่หัวไหล่ จากนั้นก็ใช้ไม้ไผ่สอดใต้สายไฟที่มัดไว้แล้วหามศพออกทางบันไดหลังบ้าน โดยมีเลือดหยดตามพื้นเป็นรายทาง นายยงและนายเยี่ยมหามศพ ส่วนนายมงคลทำความสะอาดจุดสังหาร

ศพของนวลฉวี ถูกขนย้ายผ่านสวนพจน์ที่อยู่ใกล้ๆ ที่เกิดเหตุ นายมงคลตามมา ทั้งสามข้ามคูถนนจรัญสนิทวงศ์ ลุยคูน้ำที่มีน้ำลึก 50 ซม. ไปหานายมงคลตรงหลักกิโลเมตรที่เดิม จากนั้นก็วางศพไว้ข้างถนน

หมออธิปเปิดประตูรถ จ่ายเงินค่าจ้างที่เหลือให้กับผู้รับจ้างทุกคน จากนั้นก็ช่วยกันเอาศพขึ้นรถ บรรทุกโฟล์คสวาเก้น ทะเบียน กข.ข.0253  มุ่งหน้าไปทางสะพานพระราม 6 สำหรับไม้ไผ่หามศพ นายเยี่ยมเป็นคนนำไปทิ้ง แต่ทิ้งที่ไหนไม่มีใครทราบ

แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนที่แก๊งจะทิ้งศพนวลฉวี มีรถคนหนึ่งผ่านมา และเกิดสงสัยว่าทำไมรถถึงจอด รถเสียหรือเปล่า เลยหยุดจอดถาม แต่ได้เสียงกระชาก ๆ ตอบกลับว่า “เปล่า” แทน

เวลา 20.00 น. ศพของนวลฉวีถูกนำมาทิ้งจากสะพาน นนท์บุรีลงแม่น้ำเจ้าพระยา ชาวบ้านแถวๆ นั้นได้ยินเสียงตูม !! กันไปทั่ว  ลาก่อน….นวลฉวี

อุตสาห์วางแผนอย่างดิบดี คิดว่าไตร่ตรองดีแล้ว แต่ที่ไหนได้ พลาดเพราะแหวนวงเดียว และแหวนนั้น ได้สลักคำว่า “รามเดชะ” (นามสกุลเดิมของหมออธิป)

ขุนสุญาณเศรษฐกร บิดาหมออธิป เห็นท่าทางคดีนี้เริ่มจะไม่ดี หมออธิปอาจจะแพ้ได้ จึงจ้างนายชมพู อรรถจินดา ทนายความที่มีชื่อเสียงด้วยตัวเงินที่สูงลิบลิ่ว หมออธิปเริ่มมั่นใจว่ามีทนายฝีมือดีขนาดนี้ ตนต้องชนะคดีอย่างแน่นอน

การพิจารณาของศาล เป็นไปด้วยความดุเดือดเลือดพล่าน เพราะมันเป็นคดีประวัติศาสตร์ที่ไทยต้องจารึก ใครแพ้มีหวังล่มจม ส่วนประชาชนทั้งประเทศต่างก็จับตามองคดีนี้แบบไม่กระพริบตา พวกเขาอยากรู้ว่าผลความยุติธรรมจะทำให้นักโทษทั้งหมดโดนประหารหรือไม่ ?

“ถ้าผมจะฆ่าภรรยาผม ทำไมผมต้องจ้างคนอื่นให้เสียเวลาทำมาหากินด้วยละ สู้เอามือบีบคอภรรยาให้ตายคามือดีกว่ามั้ง” หมออธิปแก้ตัวต่อศาล

วันที่ 12 ธันวาคม ปี พ.ษ. 2503 ณ ศาลอาญา บังลังก์ที่สอง คือวันพิพากษาหมออธิปและพรรคพวก…

ผู้พิพากษาทั้งสี่ประกอบด้วย นายเฉลิม กรพุกกะณะ นายพินิจ เพชรชาติ  นายสว่าง เวทย์ และนายวุฒิกรรม วงษ์ศิริ ออกมานั่งบัลลังก์ตัดสินคดีประวัติศาสตร์อาชญากรรมท่ามกลางประชาชนนับหมื่นที่แห่มาฟังคำพิพากษาอย่างมืดฟ้ามัวดิน

จนถึงขนาดต่อลำโพงโดยรอบสนามหญ้าบริเวณศาลทหารอาญา เก้าอี้หลายตัวในศาลหักเพราะทานแรงคลื่นของมวลชนไม่ไหว

จนกระทั่ง นาทีระทึกขวัญมาถึง ทุกคนพากันสงบนิ่ง รอฟังผู้พิพากษาอ่านคำตัดสิ้นช่วงสุดท้าย

“นายอธิปจำเลยที่ 1 มีความผิดตามที่กล่าวหา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 อนุมาตรา 4) 83 ฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และฐานก่อให้คนอื่นกระทำความผิดให้ต้องโทษประหารชีวิตนายอธิปจำเลยที่ 1

ส่วนนายมงคล จำเลยที่ 5 มีความผิดฆ่าคนโดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 และ 83 ให้ระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต และยึดมีดสั้นปลายแหลมที่ใช้ฆ่านวลฉวีไป

ส่วนนายชูยศ และนางสุขสม จำเลยที่ 2 และ 3 และนายชูเกียรติ จำเลยที่ 4 ศาลไม่มีหลักฐานเอาผิดเลยให้ปล่อยตัวพ้นผิดไป”

สิ้นคำพิพากษา หมออธิปตกตะลึง เพราะตัวเองมั่นใจเต็มร้อย ว่าตัวเองน่าจะรอด เพราะมีทนายมือหนึ่งของไทยว่าความให้เขา แต่ถึงอย่างนั้น…

ภายหลังต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสร็จกลับจากประเทศนิวัตพระนคร ถือว่าเป็นวันมงคล หมออธิปได้รับอนิสงค์ได้รับการอภัยโทษ ประกอบกับพ่อแม่วิ่งเต้นเรื่องเขามาตลอด ทำให้หมออธิปถูกจำคุกเพียง 1 ปีเศษเท่านั้น

เหลือเชื่อ !!??

แต่อย่างไรก็ตาม หลังหมออธิปพ้นโทษ ชีวิตที่เหลือของเขา ก็เข้า ๆ ออก ๆโรงพยาบาลบ่อยครั้ง เพราะเขาได้รับโรคติดต่อตอนอยู่ในคุก และจนถึงวาระสุดท้าย….

หมออธิปนอนอยู่บนเตียงในโรงพยาบาล ท่ามกลางญาติสนิท หมออธิปเอยปากก่อนตายเรื่องนวลฉวี 

“นวลฉวี พี่ขอโทษ พี่เป็นคนฆ่าเธอเองแหละ……..” พูดจบหมออธิปก็สิ้นลมลงในทันที

และหลังจากนั้น บ้านที่นวลฉวีถูกฆ่าในสวนบางบำหรุ ก็ถูกเล่าลือว่าเห็นผีผู้หญิงอยู่บ้านหลังนั้น ทุกคนต่างเรียกหลังนั้นว่า “บ้านผีสิง” ซึ่งเรื่องราวของนวลฉวีนั้น ถูกนำมาทำเป็นภาพยนตร์ด้วย นะคะ

Cr.khlonglan , postjung , thairath

ขอบคุณเรื่องจาก Red Diary จาก blockdit.com

Previous articleย้อนรอยคดีใบสั่งตายจากคนรัก ตำนานรัก…นวลฉวี ตอนที่1
Next articleท่าล้อซอย 9 สุสานโสเภณีร้าง…จ.กาญจนบุรี