เวลาต่อมา มีการแถลงข่าวการจับกุม นายแพทย์บัณฑิต ทางตำรวจมีหลักฐานที่มัดตัวเขาไว้อย่างแน่นหนา โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ นายแพทย์บัณฑิตสารภาพ พนักงานสอบสวนรู้ถึงขนาดว่าวางแผนฆ่าที่ไหน และจ่ายเงินงวดแรกไปเท่าไหร่ด้วย ซึ่งถือว่ารู้ลึกและรู้จริง จนเขาไม่สามารถหาข้ออ้างอื่นใดได้
กระแสข่าวคดีนี้ดังมากในช่วงนั้น ถึงขนาดประชาชนให้ความสนใจตามติดคดีวันต่อวันเหมือนติดตามละครกันไม่มีผิด ส่วนนายแพทย์บัณฑิตนั้น ก็ถูกนำตัวไปขังเดี่ยวชั่วคราว ที่ สภ.อ.เมือง จ.เพชรบุรี
เขามีสภาพจิตใจค่อนข้างแย่ มีอาการวิตกกังวล ซีดเซียว นัยต์ตาเหม่อลอย ทำอะไรเชื่องช้า และ ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ทำให้นายชูศักดิ์ผู้เป็นพ่อของเขาถึงกับต้องเฝ้าอยู่หน้าห้องตลอด เพราะเขากลัวลูกชายจะกดดันและเครียดจนตัดสินใจฆ่าตัวตายได้
ไม่กี่วันต่อมาครอบครัวนายแพทย์บัณฑิตได้ยื่นเรื่องขอประกันตัว แต่ทางตำรวจปฏิเสธที่จะให้ประกันตัวทุกกรณี
ต่อมา มีการนำตัวน้องอิงอิง มาสอบสวน โดยการที่นำเอารูปถ่ายของผู้กล่าวหาทั้งสองโดยปะปนกับบุคคลอื่น ๆ อีกจำนวนเป็นสิบๆรูป
ผลปรากฎว่า น้องอิงอิง สามารถชี้ภาพบุคคลได้อย่างถูกต้องแม่นยำทั้งสองคนเลย ตำรวจให้การคุ้มครองน้องอิงอิง โดนพาไปซ่อนตัวในสถานที่ลับสุดยอด เพื่อไม่ให้ใครตามตัวเธอเจอ
วันที่ 22 ตุลาคม ปี พ.ศ.2536
เจ้าหน้าที่ตำรวจนำนายแพทย์บัณฑิตเข้าตรวจค้นหาหลักฐานและเอกสารเกี่ยวกับคดีที่คลีนิคและบ้านพักของเขาที่อำเภอหัวหิน แต่ไม่มีการเปิดเผยแก่สื่อมวลชน ว่าเจอหลักฐานอะไรบ้าง ทางด้านนายแพทย์บัณฑิตยังคงให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาเช่นเดิม และร้องขอทนายให้การแก่ชั้นศาลเท่านั้น
วันที่ 26 ตุลาคม ปี พ.ศ.2536
เจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัวนายแพทย์บัณฑิต ไปฝากขังต่อที่เรือนจำเพชรบุรี ซึ่งเป็นที่เดียวกับ ส.ต.อ.แผ่ว ถูกนำตัวมาขังที่นี่ก่อนแล้ว
ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ประกาศความคืบหน้าของคดี ว่า ทราบแล้วว่าผู้ต้องหาสองคนที่เหลือคือใคร โดยไม่เปิดเผยชื่อ เพื่อไม่ให้เสียรูปคดี โดยบอกแค่ว่า คนหนึ่งหนีไปจังหวัดบุรีรัมย์ และ อีกคนหนีไปสุโขทัย
วันที่ 29 ตุลาคม ปี พ.ศ.2536
เจ้าหน้าที่เชิญพยานบุคคลโดยไม่เปิดเผยชื่อและที่อยู่ จำนวน 3 คน ไปที่ห้องประชุมกองกำกับ
วันที่ 3 พฤศจิกายน ปี พ.ศ.2536
เจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัว นายบรรจบ นิลห้อย ไปที่เรือนจำเพชบุรี เพื่อไปชี้ตัวผู้จ้างวาน ผลคือ นายบรรจบชี้ตัวนายแพทย์บัณฑิต อย่างถูกต้องและแม่นยำ โดยไม่ลังเลหรือหยุดคิดใดๆทั้งสิ้น
หลังจากถูกชี้ตัว นายแพทย์บัณฑิต กล่าวว่า “ผมไม่มีอะไรจะพูดกับเขา” ก่อนที่จะกลับเข้าห้องขังไป
ภาพของนายแพทย์บัณฑิต ตอนนั้น ไม่มีความเป็นแพทย์หลงเหลืออยู่เลย เขาสวมชุดนักโทษ สวมเสื้อคอกลมแขนสั้นสีกรัก ที่ข้อเท้าทั้งสองข้างถูกโซ่ตรวนตลอดเวลา ใบหน้าขาวซีด มีอาการเคร่งเครียดเหมือนกำลังใช้ความคิดอย่างหนัก
วันที่ 10 พฤศจิกายน ปี พ.ศ.2536
มีการจับกุมผู้ร่วมสังหารศยามลรายที่สาม คือ นายสมหมาย สังข์เคลือบ จับได้ที่กาญจนบุรี ชายแดนประเทศพม่า หลังการจับกุมตอนแรกนายสมหมายให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา หากแต่เมื่อโดนเจ้าหน้าที่กดดันหนักเข้า เขาจึงสารภาพว่ามีส่วนร่วมในการฆ่าศยามลจริง ๆ จึงส่งตัวสมหมายไปดำเนินคดีต่อที่เพชรบุรี
วันที่ 11 พฤศจิกายน ปี พ.ศ.2536
เจ้าหน้าที่จัดแถลงข่าวการจับกุม นายสมหมาย สังข์เคลือบ ที่ห้องประชุมศาลากลางเพชรบุรี ท่ามกลางนักข่าวและสื่อมวลชนที่หนาแน่น เจ้าหน้าที่เผยว่า
นายสมหมาย รับหน้าที่เป็นคนขับรถปิคอัพนิสสันสีเทาดำป้ายแดง ก-7740 กรุงเทพฯ โดยขับปาดหน้ารถของศยามล และผู้ร้ายทั้งสองคน ก็เข้าล็อกตัวศยามลและอุ้มไปฆ่าในสถานที่พวกเขากำหนดไว้แล้ว เมื่อฆ่าศยามลเสร็จ ก็กลับไปรับเงินจากผู้ว่าจ้างก่อนจะรีบหลบหนีไป
ในขณะที่ให้สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่นำเอาตัวนายสมหมาย มาชี้แจงรายละเอียดของคดีแก่สื่อมวลชนและนักข่าวด้วย โดยเขาบอกว่า นายบรรจบติดต่อเขามาแล้วบอกว่ามีงานดีมานำเสนอ หากสนใจให้ไปรับงานที่บ้านของนายบรรจบ ที่ จ.เพชรบุรี และเมื่อเขาไปพบนายบรรจบ ก็ทราบว่าแผนที่ว่านั้น คือการฆ่าคน หากแต่ที่ทำไปเพราะตกบันไดพลอยโจน
นายสมหมายได้พูดออกสื่อว่า “ผมแค่เป็นคนขับรถเท่านั้นนะครับ ไม่ได้เป็นคนฆ่าศยามล” และก่อนการแถลงข่าวจะสิ้นสุดลง ตำรวจได้ประกาศออกสื่อว่า
คนร้ายคนสุดท้าย ชื่อ นายสมหมาย เนียมศรี หรือ ลาย อายุ 63 ปี เป็นมือแทงศยามลจนตายต่อหน้าน้องอิงอิง และมีการเพิ่มผู้ต้องสงสัยอีกคน คือ นายสาธิต มีเย็น หรือ เอ๊ะ อายุ 27 ปี ทั้งสองมีประวัติติดคุก ปล้นชิงทรัพย์ และทั้งคู่รู้จักกับนายบรรจบด้วย
เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำตัวนายสมหมาย สังข์เคลือบทำแผนประกอบคำรับสารภาพ มีการให้นายสมหมายชี้รถปิคอัพของตนเองที่ใช้ในการก่อคดี และชี้รถเก๋งของศยามล ก่อนจะเล่าเป็นฉาก ๆ ว่าเหตุการณ์วันนั้นเกิดอะไรขึ้น !!??
ภาพการทำแผนประกอบคำรับสารภาพ
เริ่มต้นทีมสังหารมารวมตัวที่บ้านของนายบรรจบ ทำการวางแผนครั้งสุดท้ายก่อนลงมือทำงาน โดยมีค่าจ้างจำนวน 1 ล้านบาท โดยมีการจ้างล่วงหน้ามาก่อนแล้ว 3 แสนบาท
ทีมสังหารทั้งหมดขับรถออกจากบ้านและมุ่งหน้าไปยั่งศูนย์การค้าหัวหิน คอมเพล็กซ์ อำเภอหัวหิน กลุ่มทีมสังหารเห็นรถของศยามลจอดในศูนย์การค้าจึงขับรถมาจอดเทียบข้างใกล้ๆ
ทีมสังหารนั่งกินข้าวอยู่ภายในร้านอาหารซึ่งอยู่ด้านล่าง และให้นายบรรจบเดินขึ้นไปดูร้าน “บารมี” อยู่บริเวณชั้นสอง ของศูนย์การค้า ซึ่งเป็นร้านของศยามลนั่นเอง
ศยามลยังคงอยู่ในศูนย์การค้า ทีมสังหารเลยต้องไปนั่งกินข้าวที่ร้านอีกครั้ง เพื่อรอดูลาดเลาของเธอ และรอจนนางศยามลออกมาและขับรถกลับบ้าน
เมื่อศยามลขับรถออกจากศูนย์การค้า ทีมสังหารจีงขับรถตามเธอทันที และขับรถตามติดเธออย่างกระชั้นชิด ไปตามถนนเพชรเกษมมุ่งหน้าไป อ.กุยบุรี
เมื่อขับรถไปได้สักระยะทีมสังหารจึงเริ่มขับรถปาดหน้ารถเก๋งของศยามลและลงไปใช้อาวุธมีดและปืนจี้บังคับให้ศยามลและลูกมานั่งบนเบาะตอนหน้าข้างคนขับ โดยมีนายบรรจบและนายสมหมาย พร้อมส่งคนไปขับรถแทนศยามล
หลังจากนั้นรถทั้งสองคันจึงขับรถไปจอด ณ ที่เกิดเหตุ แล้วนำโดยนายสมหมาย เนียรศรีใช้เชือกรัดคอและนำมีดแทงเข้าที่หน้าอกของศยามล 3 แผล ต่อหน้าน้องอิงอิง จนเธอถึงแก่ความตาย…
ที่จริงผู้จ้างวานได้สั่งพวกเขาว่า เมื่อศยามลตายแล้ว ให้ข่มขืนศพเธอด้วยเพื่ออำพรางคดี แต่ถึงเวลาจริงกลับไม่มีใครอาสาที่จะข่มขืนศพ เลยต้องใช้ก้านกล้วยมาใช้ในการกระทำชำเราศพแทน
หลังจากการสังหารเสร็จสิ้น พวกเขาทั้งหมดก็แยกย้ายกันหลบหนี และนำอาวุธทั้งหมดไปทิ้งตามแม่น้ำและทุ่งนา หลังจากที่จะแยกย้ายกันหนีไปต่างจังหวัด
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี พ.ศ.2536 เวลา 10:30 นายสาธิต มีเย็น หรือ นายเอ๊ะ เข้ามอบตัวและสารภาพทุกข้อกล่าวหา ก่อนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะนำตัวเขาไปแถลงการณ์ร่วมต่อสื่อมวลชนที่มาทำข่าว
วันที่ 14 พฤศจิกายน ปี พ.ศ.2536 เวลา 16:30
ตำรวจทำการบุกจับผู้ร้ายรายสุดท้าย คือ นายสมหมาย เนียมศรี หลังจากที่เขาหลบหนีการจับกุมมาหลายครั้ง จนสุดท้ายจนมุมและถูกจับกุมในที่สุด และเขาก็ให้การสารภาพอย่างหมดเปลือกถึงเรื่องที่เกิดขึ้น…เป็นอันจบการสอบสวนและปิดคดีของศยามลลง
วันที่ 5 มกราคม ปี พ.ศ. 2537
อัยการจังหวัดเพชรบุรียื่นฟ้องนายแพทย์บัณฑิตและทีมสังหาร ขั้นต้นนายแพทย์บัณฑิตถูกพิจารณาคดีพิพากษาประหารชีวิต และตัดสินจำคุกตลอดชีวิตกับทีมสังหารอีกสามคน หมอบัณฑิตได้ยื่นอุทธรณ์แต่ไม่เป็นผล ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
วันที่ 23 ธันวาคม ปี พ.ศ.2539
ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ หากแต่ปัจจุบันหมอบัณฑิตได้รับการอภัยโทษจากการประหารชีวิต และได้รับการลดโทษลง 1 ใน 4 ด้วย
โดยโทษประหารชีวิตจะลดลงเหลือจำคุกเพียง 40 ปี ด้านความเป็นอยู่ของนายแพทย์บัณฑิต ผู้คุมกล่าวว่า เขาเป็นผู้ต้องขังชั้นดี พูดคุยยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่มีอาการเครียด ช่วยงานได้ทุกอย่าง และยังเป็นหมอประจำแดนเลยก็ว่าได้
นายแพทย์บัณฑิตได้รับการปล่อยตัวออกจากคุกมาเมื่อปี พ.ศ. 2552 เขาพ้นโทษและออกมาใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติแล้วค่ะ ส่วนทางด้านน้องอิงอิงตอนนี้เธอโตเป็นสาวแล้วนะคะ เรียนจบแล้วด้วย ที่จุฬา เมื่อปี พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมาค่ะ
สภาพจิตใจตอนนี้เป็นปกติแล้ว เนื่องจากตอนที่เกิดเหตุเธอยังเด็กอยู่มาก ก็เป็นอันจบเรื่องราวคดีดังในอดีตไปแล้ว เป็นอย่างไรกันบ้าง ทุกท่านมีความคิดเห็นอย่างไรกันบ้าง ร่วมพูดคุยกันได้
Cr.thairath , khlonglan.kamphaengphet.police , tnews