อาถรรพ์ทางรถไฟสายมรณะ

อาถรรพ์ทางรถไฟสายมรณะ

เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อหลายปีมาแล้ว ตอนนั้นผมนิมนต์พระคุณเจ้า ๓ รูปไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ วิญญาณเชลยศึกที่มาสร้างทางรถไฟให้ทหารญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง พร้อมได้มีการนำเอาอาหาร เครื่องเซ่น ไปวางไว้ แล้วพระคุณเจ้าก็ทำพิธีอุทิศส่วนกุศลให้วิญญาณที่เสียชีวิตที่นั่น 

พระคุณเจ้ารูปหนึ่ง เมื่อกลับถึงวัด ท่านได้นั่งภาวนาตามปกติของทุกวัน ท่านได้พิจารณาทราบว่า ตรงช่องเขาขาด ที่นำอาหารไปวางนั้น มีวิญญาณตัวผอมโซเสื้อผ้าแทบไม่มีปิดกาย เดิน นั่ง ยืนพิงช่องเขาที่ทางรถไฟ บางคนก็นั่งรุมล้อมกัน กินอาหารที่ทำไปวาง ท่านเห็นวิญญาณที่อยู่ที่นั่นเยอะแยะมากมาย จนแทบจะเดินชนกัน

นี่เป็นเพียงเรื่องราวบางส่วนบางตอนของเส้นทางสายมรณะนี้ ส่วนอาถรรพ์ของรถไฟสถานีและเส้นทางสายมรณะนี้ ยาวมากเป็นหางว่าว จะนำมาเล่าในตอนต่อไปครับ

ก่อนอื่นผมจะขอเล่าถึงประวัติของเส้นทางสายมรณะนี้ก่อน หรือที่เรารู้จักกันคือ “ช่องเขาขาด”

ช่องเขาขาดเป็นทางแคบๆ ตัดผ่านเนินเขา มูลดิน ทางรถไฟ และสะพาน ปัจจุบันได้กลายเป็นโครงการพิพิธภัณฑสถานช่องเขาขาด เพื่อรำลึกถึงเหล่าทหารที่ต้องทุกข์ทรมานจากการก่อสร้างเส้นทางสายทาสนี้ โดย เจ จี ทอม มอรีส ชาวออสเตรเลีย หนึ่งในเชลยศึกที่อยู่ร่วมชะตากรรมนรกบนดินครั้งนั้น เป็นคนริเริ่มพัฒนาและบำรุงรักษาไว้ให้เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ถึงความโหดร้ายที่เชลยศึกได้รับระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒

…ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทหารลูกพระอาทิตย์หรือญี่ปุ่น ซึ่งเข้าเป็นพันธมิตรกับเยอรมัน ซึ่งนำโดยฮิตเลอร์ ได้ฟาดหัวฟาดหางในประเทศต่างๆ ในย่านนี้อย่างเต็มที่ ซึ่งก็ได้ถล่มเอาประเทศในย่านนี้ยับไปไม่เป็นท่า นอกจากนี้ ยังได้สร้างความทุกข์อยากให้กับประชาชนอย่างแสนสาหัส เช่น การบังคับสตรีมาเป็นนางบำเรอให้กับทหารของตน ส่วนผู้ชายก็ถูกบังคับใช้แรงงานอย่างทารุณ

สถานอนุสรณ์ที่แสดงถึงความโหดเหี้ยมของทหารญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในประเทศไทยคือ สะพานข้ามแม่น้ำแคว ในจังหวัดกาญจนบุรี และมีอีกสถานที่หนึ่งที่คนทั่วโลกให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งคือ ช่องเขาขาด ซึ่งก็อยู่ในจังหวัดกาญจนบุรีเช่นกัน

ช่องเขาขาดเป็นเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า ที่ญี่ปุ่นต้องการสร้างผ่าน และดำเนินการสร้างโดยเชลยศึกชาวออสเตรเลีย และเชลยศึกฝ่ายพันธมิตร เล่ากันว่าช่องทางที่เรียกว่าช่องเขาขาดนี้ ทหารญี่ปุ่นใช้ทหารเชลยเป็นทาสในการก่อสร้างทาง ชีวิตทหารเหล่านั้นล้มตายกันเป็นเบือ เพราะทำงานหนักและโรคภัยไข้เจ็บที่ชุกชุม โดยเฉพาะไข้ป่า

ช่องเขาขาดเป็นทางแคบๆ ที่ตัดผ่านเนินเขา มูลดิน ขอบทางรถไฟ และสะพานซึ่งมีอยู่มากมายต่อสถานที่เหล่านี้กลายมาเป็นโครงการพิพิธภัณฑสถานช่องเขาขาด เพื่อรำลึกถึงเหล่าทหารที่ต้องทุกข์ทรมานเหล่านั้น

การตัดทางผ่านภูเขา มูลดิน ขอบทางรถไฟ และสะพานมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทหารญี่ปุ่น ในการลำเลียงทหารและเสบียงไปช่วยทหารญี่ปุ่นในประเทศพม่า ซึ่งขณะนั้นทหารญี่ปุ่นสามารถตั้งมั่นอยู่ในประเทศพม่าแล้ว

การก่อสร้างช่องเขาขาดเริ่มด้วยแรงงานของเชลยศึกชาวออสเตรเลียจำนวน ๔๐๐ คน และญี่ปุ่นได้เพิ่มเชลยศึกขึ้นอีกเพื่อให้การก่อสร้างสำเร็จตามกำหนด ส่วนทหารเชลยศึกที่เพิ่มเข้ามาส่วนมากยังเป็นทหารชาวออสเตรเลีย และทหารจากสหราชอาณาจักร

มีบันทึกว่าบรรดาเหล่าเชลยศึกจะใช้ค้อนหนัก ๘ ปอนด์ สว่าน ระเบิด เสียม พลั่ว จอบ และตะกร้าหวายอันเล็กๆ เพื่อขนดินออกไปเททิ้งนอกเส้นทาง พวกเขาทำงานอย่างทรมาน บางคนเสียชีวิตอย่างน่าเวทนาในขณะที่ทำงานอยู่

ในขณะที่ก่อสร้างเส้นทางสายนี้นั้น เป็นช่วงมรสุมที่รุนแรง และการก่อสร้างช่องเขาขาดยังต้องเผชิญกับความกดดันอย่างสูงจากวิศวกรชาวญี่ปุ่น และผู้คุมชาวเกาหลี ที่ได้บังคับให้พวกเขาทำงานวันละ ๑๒-๑๘ ชั่วโมง นับจากเดือนมิถุนายน ๒๔๘๖ จนเดือนสิงหาคมในปีเดียวกัน

ระหว่างการสร้างสะพานรถไฟให้เสร็จทันกำหนดนั้น เหล่าทหารเชลยศึกฝ่ายพันธมิตรขนานนามช่องเขาขาดว่า “ช่องนรก” ด้วยเหตุที่ผู้คุมชาวญี่ปุ่นบังคับให้นักโทษทำงานในเวลากลางคืน ใช้แสงสว่างจากคบไฟ ซึ่งให้ความรู้สึกว่าที่นี่คือขุมนรกบนโลกจริงๆ

ในช่วงที่เร่งสร้างทางรถไฟให้เสร็จตามกำหนดเรียกว่าช่วง สปิโต หรือตอนเร่งรัด ช่องเขาขาดยังเป็นอนุสรณ์สถานที่ทหารญี่ปุ่นกระทำไว้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ยากจะมีผู้ลืมเลือน

กลับมาเข้าเรื่องต่อ…

เชลยศึกส่วนใหญ่นี้เป็นทหารชาวอังกฤษ ดัตช์ อาจจะมีอเมริกัน บ้างเล็กน้อย พวกเขาถูกจับเป็นเชลย เนื่องจากการได้ชัยชนะของญี่ปุ่นในการยึดมาลายูได้ โดยทหารอังกฤษนั้น ถูกล้อมและยอมจำนนในสิงค์โปร์ โดยญี่ปุ่นได้ยึดเอาเป็นเมืองท่า แล้วเปลี่ยนชื่อเกาะสิงโปร์เป็นเมืองโชนัน 

ได้มีการกวาดต้อน พลเมืองทหาร พลเรือน ที่มีสสัญชาติยุโรปอเมริกันมากักไว้ในค่ายเชลย จากนั้นก็ เตรียมขบวนรถไฟ เพื่อที่จะขนเชลยขึ้นมายังมาเลเซีย เพื่อเข้ามายังประเทศไทย เพื่อเริ่มต้นสร้างทางรถไฟที่ราชบุรี โดยเดินทางผ่านเส้นทางรถไฟสายใต้ของไทยที่ทุกคนรู้จักกันดี ในชื่อ “สถานีโคกโพธิ์ ปัตตานี” ซึ่งตั้งอยู่หน้าวัดช้างไห้ ตรงเจดีย์หลวงปู่ทวดพอดี 

ทหารญี่ปุ่นได้ขับรถไฟมาถึงหน้าบริเวณหน้าสถูปหลวงปู่ทวดวัดช้างให้ จู่ๆ รถจักรก็เกิดหยุด เหมือนถูกห้ามล้อ 

นายช่างญี่ปุ่นได้ลงมาตรวจระบบห้ามล้อ แต่ก็ยังไม่ปรากฎว่า มีอะไรผิดปกติ จึงได้เร่งความเร็วเพื่อ เดินรถต่อ แต่รถไม่ยอมเคลื่อนไปข้างหน้า เพราะล้อเหล็กของหัวรถจักนั้นหมุนฟรีอยู่บนราง 

นายช่างจึงทำการนำทรายมาโรยบริเวณรางรถไฟ เพราะคิดว่าน้ำมันหล่อลื่นอาจจะรั่วใส่รางทำให้รางลื่น ประกอบกับขบวนรถมีน้ำหนักมาก เนื่องจากชักจูงมาหลายขบวนรถ ตราบนั้นก็ยังไม่ขยับเขยื้อน นายช่างญี่ปุ่นก็พยายามเพิ่งแรงดันไอน้ำให้เครื่องยนค์เร่งเต็มที่ แต่ล้อก็ยังหมุนฟรี จนเป็นสเก็ดไฟ 

ฝ่ายญี่ปุ่นพากันคิดไม่ตกกับปัญหาจนต้องถอยขบวนรถไปเดิมระยะหนึ่ง เพื่อเร่งความเร็วผ่านไปอีกครั้ง แต่พอขบวนแล่นมาถึงจุดเดิม คือบริเวณหน้าสถูป ก็พบกับเหตุการณ์เช่นเดิม คือรถเบรคหยุดชะงักที่หน้าสถูปหลวงปู่ทวดนั่นเอง 

คราวนี้ฝ่ายญี่ปุ่นได้ถอยรถไปด้านหลัง แล้วปลดพ่วงตู้โดยสารออก แล้ววิ่งมาแต่หัวรถจักรเปล่า ปรากฎว่าพอหัวรถวิ่งมาถึงสถูป ก็เกิดเหตุการณ์เดิม คือล้อรถหยุดนิ่งไม่ยอมเขยื้อนไปต่อ

ทหารญี่ปุ่นทดลองเเล่นรถจักรมาเเละถอยหลังกลับอยู่ตั้งเเต่ ๑๕.๐๐ นาฬิกา จนกระทั่งใกล้จะค่ำก็ยังผ่านไปไม่ได้ ชาวบ้านใกล้เคียงชวนกันมายืนดูความหัศจรรย์ครั้งนี้อย่างล้นหลาม

พระคุณเจ้าท่านได้ยินเสียงเครื่องจักรรถไฟดังสั่นสะเทือนไปมาหยุดอยู่หน้าวัด เเต่ธุระไม่ใช่ท่านจึงไม่ได้สนใจออกจากกุฎิมาดูอย่างผู้อื่น 

แม้เวลาล่วงเลยจนใกล้จะค่ำอยู่เเล้ว รถไฟขบวนนี้ก็ยังคงวิ่งไปมาอยู่ที่เดิม พระคุณเจ้าจึงนึกสงสัยว่าทหารญี่ปุ่นมาทำอะไรอยู่หน้าวัด จึงลงจากกุฎิไปดูกับเขาบ้าง เมื่อปรากฎเเก่สายตาของพระคุณเจ้าว่าหัวรถจักรติดอยู่เพียงสถูปทุกๆครั้ง ที่แล่นกลับไปกลับมา พระคุณเจ้าท่านจึงคิดว่าน่าจะเป็นอภินิหารของหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดเล่นงานรถไฟขบวนนี้เข้าให้เเล้ว 

พระคุณเจ้าจึงเดินเข้าไปที่สถูปเเล้วนึกในใจว่า ถ้าหากหลวงพ่อทวดลงโทษยึดขบวนรถไฟนี้เเล้วก็ขอให้ยกโทษ ปล่อยให้เขาไปทำงานตามหน้าที่ของเขาเถิด เขาเป็นพวกนอกศาสนาไม่รู้จักอะไร อย่าถือโทษเขาเลย ทันใดนั้นรถไฟก็ค่อยๆเคลื่อนตัววิ่งออกไปได้ปกติ 

ในคืนวันนั้น ขณะที่พระคุณเจ้าเข้าจำวัตรพอเคลิ้มใกล้จะหลับ ก็ได้ยินเสียงพูดที่ข้างหูเป็นเสียงคนเเก่พูดอย่างเกรี้ยวกราดว่า

“อ้ายญี่ปุ่นมาดูถูกพวกเรา (ชาติไทย) มันข่มเหงเอารถไฟเราไปใช้ เเต่โชคดีที่มีลูกๆอยู่บนรถสองตัว มิฉะนั้นกูจะผลักให้ตกจากราง กูไม่ยอมให้มันเอาไปใช้เป็นอันขาด”

พระคุณเจ้าท่านไม่ทราบว่าอะไรที่ท่านหลวงพ่อทวดเรียกว่าลูกสองตัวอยู่บนรถ จนกระทั่งประมาณ ๗-๘ วันต่อมา ได้มีชายสองคนมาหาท่านที่วัดเเละขอถวายตัวเป็นศิษย์ เเละเล่าให้พระคุณเจ้าท่านฟังว่า เขาสองคนเป็นพนักงานหัวรถจักรเเละวันที่ขบวนรถไฟติดอยู่หน้าวัดนั้น เขาสองคนเป็นคนไทยอยู่บนรถขบวนนั้น นอกนั้นเป็นทหารญี่ปุ่นทั้งหมด จึงได้ทราบว่าลูกสองตัวก็คือคนไทยสองคนนี่เอง

ครั้งที่ ๒ ต่อจากขบวนรถไฟญี่ปุ่นถูกหลวงพ่อทวดยึดครั้งแรก หลังจากนั้นประมาณเดือนเศษ วันนั้นมีพวกเด็กๆ เล่นกันอยู่หน้าวัดเเละใกล้ๆกับสถูป ได้เล่ากันถึงหลวงพ่อทวดยึดขบวนรถไฟคราวเเรก 

มีเด็กคนหนึ่งพูดท้ากันว่าวันนี้หลวงพ่อทวดจะยึดรถไฟหรือไม่ยึด อีกฝ่ายหนึ่งว่าไม่ยึด อีกฝ่ายที่ว่ายึดก็ได้เก็บเอาก้นเทียนเเละธูปที่เหลืออยู่หน้าสถูปจุดไฟขึ้นมาเเละอาราธนาขอให้หลวงพ่อทวดยึดขบวนรถไฟซึ่งกำลังวิ่งมา เป็นขบวนรถไฟเช้าระหว่างยะลา-หาดใหญ่ 

พอหัวรถจักรเคียงขนานกับสถูปศักดิ์สิทธิ์ จู่ ๆ มันก็หยุดนิ่งเคลื่อนที่ไปต่อไม่ได้อย่างครั้งเเรก รถทั้งขบวนติดอยู่ประมาณ ๓๐ นาที จึงเคลื่อนที่ไปได้ตามปกติ…และนี้คือเรื่องราวของอาถรรพ์ทางรถไฟสายมรณะ

เครดิต : บอร์ดพลังจิต

Previous articleสาเหตุจากโลงเย็น
Next articleยุติการเผยแพร่